วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีสอนแบบแก้ปัญหา

หมายถึง วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มีการรวบรวมข้อมูล มีการทดลองวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล ดังนั้น จึงอาจเรียกวิธีสอนนี้ว่า วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์

ความมุ่งหมาย

1.มุ่งฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุป
2.มุ่งฝึกทักษะทางการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์อันเป็นวิธีที่มีเหตุผล ซึ่งจะมี ประโยชน์ต่อการที่ผู้เรียนจะนำวิธีการไปใช้แก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
3.มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดอิสระ และการทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน

ขั้นตอนการสอน

1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ผู้สอนศึกษาแผนการสอนเนื้อหา และจุดประสงค์การสอนอย่างละเอียด
1.2ผู้สอนวางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นขั้นตอนตามลำดับ
2.ขั้นดำเนินการสอน
2.1 ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นขั้นที่ผู้เรียนมองเห็นปัญหา และกำหนดขอบเขตของปัญหาผู้สอนอาจใช้วิธีเล่าเรื่อง สร้างสถานการณ์จำลอง อภิปรายศึกษากรณีเฉพาะรายฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหานั้น ถ้ามีหลายปัญหา อาจแยกเป็นข้อๆได้ดังนั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1. นำทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
2.จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา
3.ช่วยตั้งจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน
2.2ขั้นตั้งสมมติฐาน เป็นขั้นวางแนวทางที่จะหาคำตอบของปัญหา โดยให้ผู้เรียนสมมติฐานว่า ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธีใดบ้างบทบาทของผุ้สอนในขั้นนี้คือ
2.2.1ช่วยผู้เรียนวางแผนจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใดบ้าง
2.2.2แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาจค้นคว้าจากตำรา เอกสารต่างๆ จากการสัมภาษณ์ ซักถามผู้เชี่ยวชาญฯลฯแล้วจดบันทึกข้อมูลไว้ บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
2.3.1แนะนำแหล่งความรู้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล
2.3.2อำนวยความสะดวกด้านวัสดุอุปกรณ์และสิ่งจำเป็นต่างๆที่ผู้เรียนต้องการใช้ในการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล
2.4ขั้นทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล ให้นักเรียนได้ทำการทดลอง
2.5ขั้นประเมินและสรุปผล เป็นขั้นสุดท้ายของลำดับขั้นสอน ผู้เรียนย่อมสามารถประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาและสรุปได้ว่า วิธีการใดดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
2.5.1ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรายงานวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นที่1 -5
2.5.2ผู้สอนอภิปรายซักถามผู้เรียน ช่วยเสริมและสรุปประเด็นสำคัญของการเรียนการสอนครั้งนี้
3.ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ขั้นตอนการสอนแบบแก้ปัญหา สรุปได้ดังนี้

1.ขั้นเตรียม
-ศึกษาแผนการสอน
-กำหนดกิจกรรม

2.ขั้นดำเนินการสอน
-ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา
-ขั้นตั้งสมมติฐาน
-ขั้นรวบรวมข้อมูล
-ขั้นทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล
-ขั้นประเมินและสรุปผล

3.ขั้นประเมินผล
-ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา

ข้อดี

1.ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลฝึกการวิเคราะห์และการตัดสินใจ
2.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3.ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและฝึกความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
4.ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการฝึกแก้ปัญหา จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ข้อจำกัด

1.ผู้เรียนต้องดำเนินการตามขันตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดความจริงไป
2.ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าข้อมูล จึงจะสรุปผลได้ดี
3.ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจนำไปผิดทางได้
4.การกำหนดปัญหา ถ้าเลือกปัญหาไม่ได้จะทำให้การเรียนการสอนได้ผลเท่าที่ควร
การนำวิธีการแบบแก้ปัญหาไปใช้ผู้สอนต้องคำนึงถึงข้อต่อไปนี้
1.ปัญหาที่นำมาให้ผู้เรียนศึกษา ควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่นปัญหาห้องไม่สะอาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเรียน ปัญหาอุบัติเหตุฯลฯ
2.ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหา ผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นำให้ผู้เรียนคิดและมองเห็นปัญหา เช่นเทคนิคการถามคำถาม การเล่าเรื่อง การยกตัวอย่างฯลฯ
3.ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหา แหล่งค้นคว้าข้อมุล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้า
4.ในการสอนต้องให้เวลา และให้อิสระแก้ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล
5.ผู้สอนควรควบคุมในการแก้ปัญหาของกลุ่ม หรือรายบุคคลดำเนินไปด้วยดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนให้กำลังใจในการแก้ปัญหา

ที่มา :  http://www.krutermsak.in.th/

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

จรรยาบรรณนักวิจัย

สภาวิจัยแห่งชาติ

"นักวิจัย" หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบ
ประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าวจึงครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล


"จรรยาบรรณ" หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม
และจริยธรรมในากรประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน


จรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วย
ในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้ หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของนักวิจัยในเรื่องที่จะศึกษา และขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในการทำงานวิจัยดว้ยผลงานวิจัยที่ด้อยคุณภาพด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากเผยแพร่ออกไป อาจเป็นผลเสียต่อวงวิชาการและประเทศชาติได้


สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด "จรรยาบรรณนักวิจัย" ไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัย
ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการ ดังนี้


๑.นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้อง
มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสดงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย


๒.นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้
กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ



๓.นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐาน
ความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย


๔.นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือ
ไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


๕.นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยนักวิจัย
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยและขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของ เพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


๖.นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตน หรือความลำเอียง
ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อบังคับพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้ เกิดผลเสียหาย ต่องานวิจัย


๗.นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงาน
วิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปทางมิชอบ


๘.นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อม
ที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟัง ความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง



๙.นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนักที่จะอุทิศกำลัง
สติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้า ทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ





Hybrid Learning

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้แบบผสมผสาน





นิยามของการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
ในส่วนของ Blended Learning ถ้าเป็นภาษาไทยก็จะหมายถึง การเรียนแบบผสมผสาน จริงๆ แล้วBlended Learning การให้ความหมายในสมัยก่อนจะเป็นเรื่องการผสมผสานของเทคนิควิธีการสอนหลายๆ
วิธีเข้าด้วยกัน บางคนก็จ ะเรีย กว่า Mix Learning แต่จริงๆ ในปัจจุบันเวลาเราพูดถึงคาว่า BlendedLearning หรือการเรียนรู้แบบผสมผสานจะให้นิยามความหมายแค่อันเดียวก็คือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบพบหน้าผู้สอนที่เรียกว่า Face to Face กับการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นออนไลน์ ทีว่าผสมสานในที่นี้จึงเป็นการผสมผสานในระหว่างการเรียนที่เจอผู้สอนก็คือมีการพบหน้ากันปกติกับการเรียนผ่านออนไลน์ ในภาษาอังกฤษจะใช้คาว่า Face to Face กับ Online อันนี้เป็นความหมายของ BlendedLearning ที่นี้พอเกิดความหมายของ Blended Learning ในลัษณะที่เป็นการเรียนแบบ Online กับการ  เรียนที่เป็น Face to Face มันก็เลยเกิดคาถามว่า แล้วเราจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรสาหรับการใช้Blended Learning ปัญหาของ Blended Learning ก็คือ ความไม่เข้าใจในเรื่องของกระบวนการว่าถ้าเราจะ  จัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning ควรทาอย่างไร โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่จะแยกไม่ออกระหว่างการเรียนแบบปกติที่เป็น Face to Face กับเรียน Online จะผสมกันได้อย่างไร หากเราใช้ e-Learning ก็จะมีปัญหาที่ว่า บางคนก็จะมอง e-Learning ว่าเป็นเพียวออนไลน์ คือเรียนโดยผ่านการออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ปัญหาของ e-Learning ก็คือว่าผู้เรียนจานวนมากไม่สามารถดูแลตัวเอง หรือรับผิดชอบตัวเองในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ อันนี้เป็นจุดอ่อนสาคัญของระบบ e-Learning เพราะว่าถ้าเราปล่อยให้คนไปเรียนใน e-Learning โดยที่เขาไม่สามารถจะควบคุมตนเองได้ ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัยในการเรียนรู้ก็จะเป็นปัญหาว่าเขาไม่ประสบความสาเร็จในการที่จะเรียนผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้นเทคนิคการสอนในลักษณะนี้ที่เราเรียกว่า Blended Learning จึงการสอนโดยผสมเอาวิธีการที่เรียนตามปกติที่เราใช้ในชั้นเรียนเอาเข้ามาเรียนร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการปิดจุดอ่อนของระบบออนไลน์ ในขณะที่บางคนก็มองว่า Blended Learning เป็นการผสมผสานระหว่างการสอนหลากหลายวิธีการจะมีอยู่สองกลุ่ม กลุ่มแรกที่มองลักษณะเป็นการเรียนระหว่าง Face to Face กับการเรียนแบบ Online เป็นกลุ่มหลัก ที่เวลาพูดถึงBlended Learning แต่อีกกลุ่มหนึ่งเวลานิยาม Blended Learning จะตีความหมายว่าเป็นการใช้วิธีการหลายๆ วิธีผสมผสานกัน ทีนี้ห ากเป็น เทคนิควิธีการสอนหลายๆ วิธีผ สมผสานกันจะเรียกอีกแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือถ้าเป็นการใช้ในโรงเรียนทั้งในสายมัธยมและสายประถมเวลาเขาใช้การสอนเขาจะมีหลายๆ วิธีการเข้ามาผสมกันไม่ว่าจะเป็น การใช้คาถามนา การใช้แบบฝึกหัด การใช้สื่อประสมหรืออะไรต่างๆ แบบนี้เราจะเรียกว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งบางคนก็จะไปมองว่าสิ่งที่บูรณาการนั้นคือBlended Learning เพราะ Blended คือแปลว่า ผสม เหมือนเครื่องปั่นที่เอาอะไรต่อมิอะไรเข้าไป ใส่น้าแข็งใส่น้าส้ม ใส้น้าหวาน ใส่เกลือ แล้วนามาปั่นรวมกันนั้นคือ Blended เพราะฉะนั้น Blended ไปมีความหมายตรงกับหรือใช้วิธีการเดียวกับลักษณะ Integrate Learning หรือการเรียนรู้แบบบูรณาการ ก็เลยทาให้ความเข้าใจตรงนี้เกิดความคลาดเคลื่อน ก็เลยเกิดการให้นิยาม Blended Learning สองกลุ่ม ผมไม่แน่ใจว่าการสัมมนาของพวกเราจะเจอกับปัญหาหรือไม่ เพราะเวลาผมไปสั มมนาหลายครั้งมักจะเจอปัญหานี้ คือกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาจะมอง Blended Learning เป็นการเรียนแบบ Face to Face ผสมกับการเรียนแบบ Online อย่างชัดเจน แต่หากเป็นพวกหลักสูตรการสอนหรือกลุ่มพวกเทคนิควิธีการสอนจะมอง BlendedLearning เป็นเรื่องของการผสมวิธีการ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นการผสมวิธีการก็เลยทาให้ขาดตรงที่เป็น Onlineหรื อ ออนไลน์ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่นำมาใช้ร่วมกับวิธีการสอนอื่น ๆ อัน นี้คือนิยามโดยหลัก ของ BlendedLearning เพราะฉะนั้นหวังว่าในตอนคุยกันตอนสัมมนาคงจะเอาความคิดเห็นนี้ไปใช้ในการวิพากษ์กันว่าจริงๆแล้วควรจะสรุปคาว่า Blended Learning ไว้อย่างไร
    การจัดเรียนการสอนผสมผสาน (Blended Learning) มีเทคนิคอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพกับผู้เรียนในส่วนของการเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning ซึ่งเมื่อสักครู่เราเข้าใจแล้วว่ามันเป็นเรื่องของ Face to Face กับ Online คนละครึ่ง ดังนั้นการนาไปใช้ประโยชน์ ก็คือว่าเวลาเราจัดการเรียนการสอนและต้องการนาเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการสอนเราก็จะต้องจัดในลักษณะที่เป็นสองแบบ แบบแรกก็คือเราจัดการเรียนการสอนตามปกติ คือให้ผู้ สอนกับผู้ เรียนได้พบหน้ากัน อันนี้เป็นหลั กเรื่องที่หนึ่งเลยคือว่าใน  Blended Learning มันเป็นเทคนิควิธีการแก้ปัญหาในเพียวออนไลน์ คือหากถ้าเราจัดแบบออนไลน์ล้วนๆโดยที่ตัวของผู้เรียนกับผู้สอนไม่เคยเจอหน้ากันโดยตรง มันก็จะขาดกระบวนการที่ทาให้ เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการนาไปใช้ประโยชน์ของ Blended Learning ก็คือจัดการเรียนการสอนที่มีการพบหน้าระหว่างตัวผู้สอนส่วนหนึ่งและมีการสอนแบบออนไลน์ส่วนหนึ่ง ดังนั้นเวลานาไปใช้ประโยชน์จึงมีรูปแบบที่นา Blended Learningไปใช้ห ลายลักษณะอันดับแรกคือต้องทาความเข้าใจก่อนว่าการนาไปใช้ประโยชน์ ในที่นี้ก็คือเราจะต้องออกแบบการสอน ว่าจะเป็นการพบหน้าเท่าไหร่ แล้วก็พบหน้าเมื่อไหร่ พบหน้าอย่างไร และอย่างที่สองก็ออกแบบว่าจะใช้การเรียนการสอนออนไลน์อย่างไร และใช้เทคโนโลยีตัวไหนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งมีอยู่เยอะมากที่จะนามาใช้ใน Blended Learning และเมื่อนาไปใช้สิ่งแรกที่ต้องคานึงนั้นคือ สัดส่วน ของ BlendedLearning คาว่าสัดส่วน Blended Learning เป็นปัญหามาก เพราะว่าการ Blended Learning ถ้าเราจะนาไปใช้ประโยชน์มันขึ้นอยู่กับวิชาว่าจะต้องการให้มีสัดส่ วนของการพบหน้าเท่าไหร่ และสัดส่วนของการออนไลน์เท่าไหร่ การทา Blended Learning ที่ผมใช้อยู่ยกตัวอย่างการสอนในระดับปริญญาโทก็จะใช้Blended Learning ในลักษณะที่เรียกว่า 50 : 50 คือผมเจอหน้านักศึกษา 50 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงถ้าเรามีการเรียนการสอนทั้งหมดหนึ่งเทอมแล้วสัปดาห์หนึ่งมี 4 ชั่วโมง สองชั่วโมงผมจะพบหน้าเด็กก่อน ชี้แจงจุดประสงค์อะไรต่างๆ แล้วอธิบายหรือบรรยายหรือให้กิจกรรมการเรียนแบบ Face to Face อันนี้ก็คือเหมือนกับการสอนปกติ หลังจากนั้นเขาจะไปออนไลน์อีกสองชั่วโมง คือออนไลน์มันจะเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วย ผมใช้ Blended Learning กับนักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัด เหตุผลที่ใช้ Blended Learning เพราะว่าต้องไปสอนศูนย์ที่มหาวิทยาลัยในต่างจังหวั ด เวลาเราไปสอนเสร็จแล้วเรากลับมาตัวเรากับนักศึกษาจะอยู่ห่างกันมาก เพราะฉะนั้น Blended Learning ก็จะหมายความว่าพอเวลาเราสอนเสร็จเวลาในการสอนของเรา 4-6ชั่วโมง เสร็จเรียบร้อยในวิชานั้น เราก็จัดออนไลน์ให้นักศึกษาอีก 4-6 ชั่วโมง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง ได้ทำแบบฝึกหัด ได้ส่งงาน ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากสื่อที่เรากาหนดให้ แบบนี้คือ 50 : 50 คือไปสอน 4 เดือน ทุกสัปดาห์พอสอนเสร็จหลังจากนั้นนักศึกษาต้องออนไลน์กับผมไปตลอดทั้งเทอม สัดส่วนตรงนี้คือ 50:50 นี่คือการนำไปใช้ประโยชน์ของ Blended Learning ช่วยปิดจุดอ่อนตรงที่ว่า ถ้าหากเขาจะมาพบ จะมาซักถามหรือพูดคุย หรือจะส่ งรายงาน เขาทาไม่ได้เลยเพราะเขาอยู่ต่างจังหวัด ถ้าหากเขาจะทาแบบฝึกหั ดส่ งผม ทำการบ้านส่งผมเขาก็จะไปที่ตัวออนไลน์ อยากจะค้นคว้าเพิ่มเติมก็ไปที่ตัวออนไลน์ เขาอยากจะสรุปสไลด์ ฟังบรรยายต่างๆ ของผม เขาก็ไปที่ออนไลน์ อย่างนี้คือ 50: 50 การนาไปใช้ประโยชน์ในแง่ของสัดส่วนแบ่งออกเป็นสองลักษณะแบบแรกเรียกว่า Vertical เป็นแบบแนวตั้ง 50: 50 หมายความว่า Face to Face 50และออนไลน์ 50 คือจัดการสอนตลอดหลักสูตรครึ่งต่อครึ่งไปตลอดเป็นลักษณะคู่ขนาน อีกแบบหนึ่งคือแนวนอน หมายความว่า ถ้าเราจัดการเรียนการสอน 15 สัปดาห์ ก็จะเรียน Face to Face ไปประมาณ 50เปอร์เซนต์ ที่เหลือก็เรียนแบบออนไลน์ อีกแบบหนึ่งที่ต่างประเทศนิยมกันมากคือ 80: 20 คือ Face to Faceครั้งแรกก่อน 10 เปอร์เซนต์ หลังจากนั้นปล่อยให้ ออนไลน์ 80 เปอร์เซนต์ และมาสรุปที่เหลืออีก 10เปอร์เซนต์ สรุปว่าการทา Blended Learning ต้องมีออนไลน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ถ้าเมื่อใดที่ระบบการสอนเป็นบรรยายมากกว่าออนไลน์อย่างนี้จะไม่เรียกว่า Blended Learning จะกลายเป็นสื่อออนไลน์เป็นแค่ตัวช่วย ตัวเสริม ไม่ใช่สื่อหลัก เพราะฉะนั้นการนา Blended Learning ไปใช้ประโยชน์ คือ 1. กาหนดสัดส่วน2. คือการออกแบบการสอน ตอนเราสอนแบบ Face to Face ใช้วิธีการใด และออนไลน์ใช้วิธีการสอนแบบใดโดยใช้การเขียนแผนการสอน ซึ่งเท่ากับต้องมี 2 แผนการสอน และสื่อที่จะใช้คืออะไร ตอนเจอหน้าใช้เทคนิคอะไร บรรยาย PowerPoint แล้วแบบออนไลน์จะใช้อะไร Blog, Social Mediaข้อจากัดและแนวทางในแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning)ข้อจากัดของ Blended Learning จะอยู่ที่การออนไลน์ ถ้าสถานศึกษาระบบออนไลน์ไม่สมบูรณ์แล้วจัดการเรียนการสอนออนไลน์ก็จะทาให้ผู้สอนเกิดการขัดข้อง และเด็กทุกคนก็ใช่ว่าจะมีอุปกรณ์ออนไลน์ที่ครบถ้วน ถ้าจะจัด Blended Learning ตัวของโรงเรียนต้องมีความพร้อมเรื่องเครือข่าย อีกข้อหนึ่งคือตัวของเทคโนโลยีก็คือว่าในการทา Blended Learning ต้องเลือกทาเทคโนโลยีออนไลน์ เพราะฉะนั้นตอนทาเทคโนโลยีออนไลน์หลายๆ โรงเรียนก็อาจทาเป็นอีเลิร์นนิ่ง พอทาเป็น อีเลิร์นนิ่งแล้วความพร้อมของเทคโนโลยีในโรงเรียนต่างๆ ยังไม่พร้อมที่จะให้ครูทุกคนทา Blended Learning และก็กลายเป็นปัญหาที่ว่าถึงแม้ว่า ครูพร้อม นักเรียนพร้อม ระบบเครือค่ายพร้อม แต่หากว่าตัวเทคโนโลยีที่นามาใช้ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจก็ทาให้เป็นปัญหาได้ อีกประการหนึ่งคือ ความพร้อมของครูผ้สอน หากครูไม่เชี่ยวชาญ ก็กลายเป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning และความพร้อมของตัวผู้เรียน เช่น บ้านไม่มีอินเทอร์เน็ตหรือไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือถ้าใช้ในโรงเรียนก็เป็นปัญหาเรื่องห้องเรียนเพียงพอหรือไม่ Blended Learning ก็จะกลายไปเพิ่มภาระให้ แนวทางแก้ไขคือ ต้องทาให้ ครู นักเรียน ระบบเครือข่าย อุปกรณ์ มีความพร้อม เราก็
      จะสามารถจัดการเรียนการสอน Blended Learning ได้อย่างสมบูรณ์ และที่สาคัญคือตัวของ BlendedLearning เป็นออนไลน์ เด็กก็จะเข้าไปเล่นเกมส์ ไม่สนใจตัวสื่อออนไลน์ วิธีการแก้ไข คือ ต้องออกแบบระบบการสอนออไลน์เฉพาะ และสร้างตัวเทคโนโลยีที่ควบคุมการเรียนรู้ของเด็กให้กรอบ อยู่ในแนวทางได้ทิศทาง จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning) ในการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไรตราบใดที่ยังมีสื่อออนไลน์ Blended Learning จะเป็นวิธีการสอนที่จะนามาช่วย แนวโน้มก็จะคือเป็นวิธีการที่จะเพิ่มมากขึ้น แพร่หลายโดยทั่วไป ซึ่งเพิ่มขึ้นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องของเทคโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวโน้มที่ทาให้ BlendedLearning เพิ่มมากขึ้น และในอนาคต Blended Learning จะเข้าสู่ในยุคของ เวอร์ชวลเลิร์นนิ่ง คือเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในลักษณะ 3 มิติมากขึ้น หากเรานา Blended Learning มาผสมผสานกับ เวอร์ชวลเลิร์นนิ่ง คือเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้มีมากขึ้น ถ้าถามว่าแนวโน้มจะเป็นลักษณะใด ก็ตอบได้เลยว่า Blended Learning จะมีมากขึ้น ตราบใดทีระบบออนไลน์มีมากขึ้น ระบบสารสนเทศมีมากขึ้นระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหลือตอนนี้ก็คงจะป็นตัวผู้สอนที่จะเข้าสู่ยุคนี้ได้อย่างไร หากครูผู้สอนยังสอนเหมือนเดิม ในขณะที่นักเรียนเข้าสู่โลกของออนไลน์มากขึ้น การเรียนการสอนก็ของครูก็จะไม่น่าสนใจการเรียนการสอนของครูก็จะไม่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน นโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันเรื่องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวก็จะไม่ประสบความสาเร็จ

ที่มา  :  http://krusorndee.net/group/6-1-2555-33101/page/blended-learning

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Dropbox คืออะไร?

Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของเราเอง หน่วยงานเพื่อ share file ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ ก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox

Dropbox ดีอย่างไร?

Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้
ทำให้ตรงกัน (Synchronize) Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที
แบ่งปันไฟล์ (File Sharing)

แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ ‘ทำงานร่วมกันได้’ (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย
สำรองข้อมูล (Online Backup)

Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลยเข้าผ่านเว็บไซต์ (Web Access) ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง
ต้องมี account gmail เพื่อการใช้งาน สามารถ download software มาติดตั้งที่เครื่องและเริ่มใช้งานได้ทันที

ที่มา : http://dit.csc.ku.ac.th

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

5 สิ่งที่ไม่ใช่ คลาวด์คอมพิวติ้ง

ป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้เคลื่อนผ่านจากยุคพีซีเข้าสู่ยุคคลาวด์คอมพิวติงในหลายทาง โดยคลาวด์คอมพิวติงถือว่าเป็นตัวแทนของการส่งผ่านข้อมูลและบริการทางไอทีแบบใหม่ของผู้ใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญว่าแอพพลิเคชันและระบบและการบริการต่างๆ ถูกพลิกโฉมไปจากอดีตอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ การก้าวผ่านสู่เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงถือเป็นการแทนที่ทางเทคโนโลยีสารสนเทศนับตั้งแต่การเปลี่ยนจากเมนเฟรมเป็น Client-Server หรือจะเป็น AI Gore invented the internet เป็นต้น ในขณะที่องค์กรไอทีที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน เช่น ‘Oracle’s commander in chief declared it fad’ ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีมายาวนานและยังคงอยู่ในปัจจุบันส่วนอีกด้านหนึ่งคือยุคใหม่ของไอทีแห่งอนาคต
การเคลื่อนผ่านของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงนั้นเริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีการเข้าใจผิดเป็นอย่างมากเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงในตลาดไอที รวมถึงเป็นเรื่องยากที่องค์กรจะแยกแยะว่าอะไรที่เป็นเรื่องจริงและอะไรที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นพัฒนากลยุทธ์ของคลาวด์คอมพิวติง รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของคลาว์คอมพิวติงที่มีการออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อตอบสนองภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ การรู้ว่าคลาวด์คอมพิวติงคืออะไร พูดง่าย ๆ คือแยกแยะว่าอะไรที่ใช่และไม่ใช่ รวมถึงทำให้บรรดาไอทีทั้งหลายเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโยลีคลาวด์คอมพิวติงมากขึ้น
ผมจะไม่ให้คุณเพิ่มนิยามหรือความหมายใดใดของคลาวด์คอมพิวติง แต่ลองหันมาทำความเข้าใจกับ 5 อย่างที่ไม่ใช่คลาวด์คอมพิวติงแทน และ 5 อย่างที่ผมว่า คือ
1. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่สถานที่ หลายคนมักพูดว่าการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังคลาวด์คอมพิวติงก็เหมือนการย้ายไปยังอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งคลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่สถานที่หากแต่เป็นที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใน Data Center ของคุณหรือใครก็ได้ เป็นต้น ซึ่งองค์กรที่เชื่อว่าการก้าวไปสู่กลยุทธ์ที่ทิ้งมรดกทางแอพพลิเคชันและระบบต่าง ๆ จะตกอยู่ในภาวะตื่นจากภวังค์ ซึ่งสิ่งสำคัญประการเดียวสำหรับสถานประกอบการหรือบริษัทในการเตรียมตัวขององค์กรสำหรับคลาวด์คอมพิวติงคือการทำความเข้าใจว่าคลาวด์คอมพิวติงคือ การส่งข้อมูลแบบใหม่,การเสพข้อมูลและการนำบริการ IT มาใช้ให้เกิดความว่องไว, มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าซึ่งล่องลอยอยู่ในอากาศทั้ง Public Cloud, Private Cloud หรือ Hybrid Cloud หากมองคลาวด์คอมพิวติงแบบองค์รวมแล้ว องค์กรหรือบริษัทสามารถใช้ประโยชน์เพื่อประหยัดด้านงบประมาณ, ด้านความเป็นส่วนตัวขององค์กร, ด้านภูมิศาสตร์และความต้องการโดยรวมในเชิงธุรกิจได้เป็นอย่างดี
2. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์แบบเสมือน ถึงแม้หลายคนจะเชื่อและแม้ว่ามีใครหลายคนบอกท่านว่าคลาวด์คอมพิวติงคืออะไรก็ตาม แต่คลาวด์คอมพิวติงก็ไม่เหมือนกับ Next-Gen Server Virtualization แน่นอน ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจไปเลยเพราะจากการการที่หลาย ๆ คนเชื่อว่าการทำให้ Data Center เสมือนจริงจะเป็นการสร้าง Private Cloud ซึ่งมีผู้จำหน่ายบางรายพยายามที่จะไม่ให้ความกระจ่างชัดต่อเรื่องนี้หนำซ้ำยังพยายามโน้มน้าวลูกค้าว่า vCenter ของตนเองนั้นสามารถรับส่งข้อมูลแบบ Private Cloud ได้ ในทางตรงกันข้าม การกล่าวข้างต้นคือการกล่าวเกินจริงอย่างโหดร้ายต่อนิยามของคำว่าคลาวด์คอมพิวติงเป็นที่สุด
หากท่านศึกษากรณีของ Amazon ที่ได้สร้างสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงเป็นของตนเอง จะเห็นได้ชัดเลยว่ายังมีข้อแตกต่างบางประการระหว่าง Server Virtualization และสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงของจริง เพราะขณะที่ Amazon ใช้ Xen Virtualization Technology สมองของสถาปัตยกรรมนี้ก็มาพร้อมกับ Layer ใหม่ของซอฟท์แวร์ ซึ่ง Amazon พยายามสร้างขึ้นมาเพื่อสร้าง Control Plane ใหม่และ Cloud Orchestration Layer ใหม่ที่สามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดของ Infrastructure ผ่านทาง Data Center ได้ ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Networking เป็นต้น ที่ถือเป็นหัวใจหลักของการแทนที่เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงจนนักวิเคราะห์บางคนกล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น “Hypervisor of Hypervisor” หรือ “ New Software Category of Cloud System Software ”
ในความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญบางคนได้ใช้งานคลาวด์คอมพิวติงโดยปราศจาก Server Virtualization ดังเช่นกรณีของ Google ที่สามารถใช้งานสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงโดยไม่ใช้ Server Virtualization แต่ใช้ Bare Metal แทน ดังนั้นแม้ Virtualization จะเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติงแต่ก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการเสมอไป
3. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เกาะ ไม่ว่าคุณกำลังอ่านอะไรก็ตาม คุณก็จะได้ยินคำว่า Public Cloud และ Private Cloud อย่างหนาหูเลยทีเดียวและอาจจะรู้สึกว่าบริษัทจะต้องตัดสินใจต่อทิศทางการค้าส่งทั้งหมดก็เป็นได้ แต่เดี๋ยวก่อน! คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เกาะที่คุณจะทิ้งบริการไอทีทุกสรรพสิ่งลงไปแล้วปล่อยให้สูญเสียการเชื่อมต่อและการเข้าถึงเสียเมื่อไหร่ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ Amazon outage ได้พิสูจน์แล้วว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรในการที่จะกระตุ้นคลาวด์คอมพิวติงให้ถึงขีดสุด ซึ่งกลยุทธ์คลาวด์คอมพิวติงที่ถูกต้องจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน (Hybrid Approach) พร้อมกับความสามารถในการเชื่อมต่อไปยัง Private และ Public Clouds ได้อย่างง่ายอีกด้วย แม้แต่การเคลื่อนไหวของ NASA to include Amazon Web Services ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลาวด์คอมพิวติงของ NASA ได้เปิดตัวภายหลังการลงทุนครั้งใหญ่ด้านการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีในองค์กร เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าตลาดสำหรับคลาวด์คอมพิวติงกำลังเปิดและสามารถใช้งานในแบบ Multi-Cloud Environment ได้อีกด้วย
4. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่การสั่งการแบบ Top-Down คลาวด์คอมพิวติงมาแทนที่การรับส่งข้อมูลทาง IT แบบเดิม โดยมีเส้นทางธุรกิจเป็นตัวแปรนำในการตัดสินใจสู่การเดินหน้าไปยังยุคคลาวด์คอมพิวติงและด้วยความต้องการเจาะจงเข้าสู่ตลาดโดยเร็วนี่เองทำให้ผู้นำทางธุรกิจต่าง ๆ ได้ใช้บริการคลาวด์คอมพิวติงเพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการรับส่งข้อมูลทางไอทีแบบเดิม แต่ก็นั่นแหล่ะ มันก็ไม่ใช่สาระที่เราจะต้องไปสำรวจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแค่เรื่องการรูดบัตรเครดิตและการสร้างบัญชีของผู้ใช้ให้สามารถเข้าไปในระบบไอทีได้ทันทีแบบไร้ขีดจำกัดเพื่อทดสอบแนวคิดใหม่นี้ หรือจะเป็นการทำงานที่มีความว่องไวมากขึ้นต่างหากเป็นส่วนสำคัญที่บอกว่าคลาวด์คอมพิวติงทรงพลังมากเพียงใด คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมในบทความที่ผมเขียนเรื่อง Consumerization of IT ที่กำลังสนับสนุนเรื่องนี้อยู่ ตอนนี้ผู้ใช้ก็พร้อมแล้วเหลือเพียง C-level offices ที่พยายามปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ ซึ่งคนที่จับกระแสของคลาวด์คอมพิวติงมาแต่ต้นจะเป็นผู้ที่ใช้งานคลาวด์คอมพิวติงเฉกเช่นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพก่อนคู่แข่งรายอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เห็นทีคลาวด์คอมพิวติงคงไม่ใช่ปรากฏการณ์แบบ Top-down หากแต่เป็น Bottoms-up เสียมากกว่า
5. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่กระแสโปรโมต จากที่ผมเขียนบทความนี้ ผมได้กล่าวถึงข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงที่ไหลบ่าสู่ตลาดไอทีทำให้เกิดการชะลอตัวเรื่องการนำคลาวด์คอมพิวติงมาใช้ในบางองค์กร โดยผมมีโอกาสพูดคุยกับคนในหลายองค์กรซึ่งบางคนก็ยังไม่เชื่อเรื่องคลาวด์คอมพิวติงและยังคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่างหาก แต่ก็ไม่ต้องสงสัยเลยที่เริ่มมีการพูดถึงชัยชนะของคลาวด์คอมพิวติงโดยหลัก ๆ แล้วมาจากจิตใจและความคิดของนักพัฒนาระบบไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยแหล่งที่มาของคลาวด์คอมพิวติงให้บุคคลภายนอกได้ใช้หรือ Beta product ซึ่งในความเป็นจริงคลาวด์คอมพิวติงนั้นพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก Citrix ที่มีมากกว่า 100 องค์กรที่ขับเคลื่อนคลาวด์คอมพิวติงในตอนนี้หรือองค์กรอย่างเช่น AutoDesk, Edmunds.com, Nokia, Chatham Financial และอื่นๆ อีกมากมายต่างก็ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันทรงพลังนี้
สิ่งที่ผมอยากแนะนำเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงให้กับองค์กรต่าง ๆ ก็คือการเรียนรู้จากองค์กรอื่นที่ได้ใช้คลาวด์คอมพิวติงให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการช่วยรับส่งข้อมูลและบริการทางไอทีในองค์กรของตนเองเป็นตัวอย่างนั่นเอง
อย่าเพิ่งเบื่อไปก่อนล่ะ เพราะนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นประเด็นคลาวด์คอมพิวติงเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเด็นที่เราจะต้องถกกันต่อไปในสัปดาห์ เดือนหรือปีที่ใกล้จะมาถึง (เช่นประเด็นที่ว่าคลาวด์คอมพิวติงไม่ได้เป็น Infrastructure หรือ Service Provider เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เป็นต้น) แต่ทั้งหมดของบทความที่ผมเขียนมา ก็ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้องค์กรและตลาดไอทีมีความเข้าใจว่าอะไรที่ใช่และอะไรที่ไม่ใช่คลาวด์คอมพิวติงครับ

ที่มา : http://www.value.co.th/th/service/articles/5things.htm

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เทคโนโลยีไฮไลท์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานในโลกดิจิตอล

ด้วยความที่คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ ขององค์กรทั้งในเรื่องของการลงทุนด้านเทคโนโลยี เรื่องประสิทธิภาพการใช้งานระบบ และรวมถึงเรื่องของการตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในโลกสมัยใหม่ที่สามาาถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา กอปรกับความรู้ความเข้าในของผู้ใช้งานที่มีต่อคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีเพิ่มมากขึ้นและให้ความไว้วางใจในระบบนี้มากขึ้น จึงทำให้คลาวด์คอมพิวติ้งยังคงเป็นเทคโนโลยีไฮไลท์ในปีนี้ในภูมิภาคนี้และในประเทศไทย
บริษัทวิจัยไอดีซี (International Data Corporation) ได้คาดว่าคลาวด์คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่นจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ ทำให้ธุรกิจการให้บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 และจะมีการเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด โดยผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง "Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud" ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554 ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ

แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจลงทุนเทคโนโลยีนี้อีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้
ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะ เปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย
คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด

ในปีนี้จะเห็นความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมผนึกกำลังกับยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์เพื่อขับเคลื่อนให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ตัวอย่างเช่นความเคลื่อนไหวของยักษ์โทรคมนาคม บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (สิงเทล) จับมือวีเอ็มแวร์ เปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์แบบออนดีมานด์ SingTel PowerON Compute ที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ VMware vCloud Datacenter Service ช่วยลูกค้าองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นการประมวลผลไฮบริด คลาวด์ ( Hybrid Cloud ) ระดับองค์กรจะช่วยให้ลูกค้าสามารถอัพเกรดทรัพยากรไอที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากหรือรับมือกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดซื้อและจัดการเซิร์ฟเวอร์และ ระบบต่างๆ เพิ่มเติม และดังนั้นจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์บริษัทต่างๆ จะสามารถขยายทรัพยากรของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบส่วนตัวที่มีอยู่ไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะได้อย่างไร้รอยต่อ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นอีกครั้ง นั่นหมายความว่าลูกค้าจะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งแบบออนดีมานด์บนระบบสาธารณะโดยเสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือความร่วมมือระหว่าง 2 ผู้นำทางด้านไอที บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำเสนอบริการคลาวด์คอมพิวติ้งสู่องค์กรธุรกิจไทยด้วยบริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร ด้วยดิจิตัลคอนเทนท์ โฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ อีเมล เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน

ความร่วมมือระหว่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพิ่มทางเลือกและคุณค่าทางธุรกิจที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ การผนึกกำลังดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และบริการยุคใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยยกระดับไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานของผู้ใช้งานชาวไทยไปสู่การใช้งานทางธุรกิจได้
คาดว่าภายในปีนี้จะได้เห็นรูปแบบความร่วมมือในลักษณะนี้ที่ผนวกกับซอฟต์แวร์ที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อนำเสนอบริการการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งได้ในหลากหลายช่องทางและอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
credit : Software Park Thailand
ที่มา : http://www.pantipplaza.com/page.php?aid=463&tmid=8&bu=&m=&lan=