วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

จรรยาบรรณนักวิจัย

สภาวิจัยแห่งชาติ

"นักวิจัย" หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบ
ประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าวจึงครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล


"จรรยาบรรณ" หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม
และจริยธรรมในากรประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน


จรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วย
ในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้ หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของนักวิจัยในเรื่องที่จะศึกษา และขึ้นอยู่กับคุณธรรมจริยธรรมของนักวิจัยในการทำงานวิจัยดว้ยผลงานวิจัยที่ด้อยคุณภาพด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากเผยแพร่ออกไป อาจเป็นผลเสียต่อวงวิชาการและประเทศชาติได้


สภาวิจัยแห่งชาติจึงกำหนด "จรรยาบรรณนักวิจัย" ไว้เป็นแนวทางสำหรับนักวิจัย
ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียติภูมิของนักวิจัยไว้ 9 ประการ ดังนี้


๑.นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้อง
มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสดงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย


๒.นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้
กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ



๓.นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐาน
ความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย


๔.นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือ
ไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


๕.นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยนักวิจัย
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยและขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของ เพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


๖.นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตน หรือความลำเอียง
ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อบังคับพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้ เกิดผลเสียหาย ต่องานวิจัย


๗.นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงาน
วิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปทางมิชอบ


๘.นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อม
ที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟัง ความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง



๙.นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนักที่จะอุทิศกำลัง
สติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้า ทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ





Hybrid Learning

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้แบบผสมผสาน





นิยามของการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
ในส่วนของ Blended Learning ถ้าเป็นภาษาไทยก็จะหมายถึง การเรียนแบบผสมผสาน จริงๆ แล้วBlended Learning การให้ความหมายในสมัยก่อนจะเป็นเรื่องการผสมผสานของเทคนิควิธีการสอนหลายๆ
วิธีเข้าด้วยกัน บางคนก็จ ะเรีย กว่า Mix Learning แต่จริงๆ ในปัจจุบันเวลาเราพูดถึงคาว่า BlendedLearning หรือการเรียนรู้แบบผสมผสานจะให้นิยามความหมายแค่อันเดียวก็คือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการเรียนรู้แบบพบหน้าผู้สอนที่เรียกว่า Face to Face กับการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นออนไลน์ ทีว่าผสมสานในที่นี้จึงเป็นการผสมผสานในระหว่างการเรียนที่เจอผู้สอนก็คือมีการพบหน้ากันปกติกับการเรียนผ่านออนไลน์ ในภาษาอังกฤษจะใช้คาว่า Face to Face กับ Online อันนี้เป็นความหมายของ BlendedLearning ที่นี้พอเกิดความหมายของ Blended Learning ในลัษณะที่เป็นการเรียนแบบ Online กับการ  เรียนที่เป็น Face to Face มันก็เลยเกิดคาถามว่า แล้วเราจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรสาหรับการใช้Blended Learning ปัญหาของ Blended Learning ก็คือ ความไม่เข้าใจในเรื่องของกระบวนการว่าถ้าเราจะ  จัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning ควรทาอย่างไร โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่จะแยกไม่ออกระหว่างการเรียนแบบปกติที่เป็น Face to Face กับเรียน Online จะผสมกันได้อย่างไร หากเราใช้ e-Learning ก็จะมีปัญหาที่ว่า บางคนก็จะมอง e-Learning ว่าเป็นเพียวออนไลน์ คือเรียนโดยผ่านการออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ปัญหาของ e-Learning ก็คือว่าผู้เรียนจานวนมากไม่สามารถดูแลตัวเอง หรือรับผิดชอบตัวเองในการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ อันนี้เป็นจุดอ่อนสาคัญของระบบ e-Learning เพราะว่าถ้าเราปล่อยให้คนไปเรียนใน e-Learning โดยที่เขาไม่สามารถจะควบคุมตนเองได้ ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัยในการเรียนรู้ก็จะเป็นปัญหาว่าเขาไม่ประสบความสาเร็จในการที่จะเรียนผ่านระบบออนไลน์ ดังนั้นเทคนิคการสอนในลักษณะนี้ที่เราเรียกว่า Blended Learning จึงการสอนโดยผสมเอาวิธีการที่เรียนตามปกติที่เราใช้ในชั้นเรียนเอาเข้ามาเรียนร่วมกับการเรียนแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการปิดจุดอ่อนของระบบออนไลน์ ในขณะที่บางคนก็มองว่า Blended Learning เป็นการผสมผสานระหว่างการสอนหลากหลายวิธีการจะมีอยู่สองกลุ่ม กลุ่มแรกที่มองลักษณะเป็นการเรียนระหว่าง Face to Face กับการเรียนแบบ Online เป็นกลุ่มหลัก ที่เวลาพูดถึงBlended Learning แต่อีกกลุ่มหนึ่งเวลานิยาม Blended Learning จะตีความหมายว่าเป็นการใช้วิธีการหลายๆ วิธีผสมผสานกัน ทีนี้ห ากเป็น เทคนิควิธีการสอนหลายๆ วิธีผ สมผสานกันจะเรียกอีกแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือถ้าเป็นการใช้ในโรงเรียนทั้งในสายมัธยมและสายประถมเวลาเขาใช้การสอนเขาจะมีหลายๆ วิธีการเข้ามาผสมกันไม่ว่าจะเป็น การใช้คาถามนา การใช้แบบฝึกหัด การใช้สื่อประสมหรืออะไรต่างๆ แบบนี้เราจะเรียกว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งบางคนก็จะไปมองว่าสิ่งที่บูรณาการนั้นคือBlended Learning เพราะ Blended คือแปลว่า ผสม เหมือนเครื่องปั่นที่เอาอะไรต่อมิอะไรเข้าไป ใส่น้าแข็งใส่น้าส้ม ใส้น้าหวาน ใส่เกลือ แล้วนามาปั่นรวมกันนั้นคือ Blended เพราะฉะนั้น Blended ไปมีความหมายตรงกับหรือใช้วิธีการเดียวกับลักษณะ Integrate Learning หรือการเรียนรู้แบบบูรณาการ ก็เลยทาให้ความเข้าใจตรงนี้เกิดความคลาดเคลื่อน ก็เลยเกิดการให้นิยาม Blended Learning สองกลุ่ม ผมไม่แน่ใจว่าการสัมมนาของพวกเราจะเจอกับปัญหาหรือไม่ เพราะเวลาผมไปสั มมนาหลายครั้งมักจะเจอปัญหานี้ คือกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาจะมอง Blended Learning เป็นการเรียนแบบ Face to Face ผสมกับการเรียนแบบ Online อย่างชัดเจน แต่หากเป็นพวกหลักสูตรการสอนหรือกลุ่มพวกเทคนิควิธีการสอนจะมอง BlendedLearning เป็นเรื่องของการผสมวิธีการ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นการผสมวิธีการก็เลยทาให้ขาดตรงที่เป็น Onlineหรื อ ออนไลน์ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่นำมาใช้ร่วมกับวิธีการสอนอื่น ๆ อัน นี้คือนิยามโดยหลัก ของ BlendedLearning เพราะฉะนั้นหวังว่าในตอนคุยกันตอนสัมมนาคงจะเอาความคิดเห็นนี้ไปใช้ในการวิพากษ์กันว่าจริงๆแล้วควรจะสรุปคาว่า Blended Learning ไว้อย่างไร
    การจัดเรียนการสอนผสมผสาน (Blended Learning) มีเทคนิคอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพกับผู้เรียนในส่วนของการเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือ Blended Learning ซึ่งเมื่อสักครู่เราเข้าใจแล้วว่ามันเป็นเรื่องของ Face to Face กับ Online คนละครึ่ง ดังนั้นการนาไปใช้ประโยชน์ ก็คือว่าเวลาเราจัดการเรียนการสอนและต้องการนาเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในการสอนเราก็จะต้องจัดในลักษณะที่เป็นสองแบบ แบบแรกก็คือเราจัดการเรียนการสอนตามปกติ คือให้ผู้ สอนกับผู้ เรียนได้พบหน้ากัน อันนี้เป็นหลั กเรื่องที่หนึ่งเลยคือว่าใน  Blended Learning มันเป็นเทคนิควิธีการแก้ปัญหาในเพียวออนไลน์ คือหากถ้าเราจัดแบบออนไลน์ล้วนๆโดยที่ตัวของผู้เรียนกับผู้สอนไม่เคยเจอหน้ากันโดยตรง มันก็จะขาดกระบวนการที่ทาให้ เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการนาไปใช้ประโยชน์ของ Blended Learning ก็คือจัดการเรียนการสอนที่มีการพบหน้าระหว่างตัวผู้สอนส่วนหนึ่งและมีการสอนแบบออนไลน์ส่วนหนึ่ง ดังนั้นเวลานาไปใช้ประโยชน์จึงมีรูปแบบที่นา Blended Learningไปใช้ห ลายลักษณะอันดับแรกคือต้องทาความเข้าใจก่อนว่าการนาไปใช้ประโยชน์ ในที่นี้ก็คือเราจะต้องออกแบบการสอน ว่าจะเป็นการพบหน้าเท่าไหร่ แล้วก็พบหน้าเมื่อไหร่ พบหน้าอย่างไร และอย่างที่สองก็ออกแบบว่าจะใช้การเรียนการสอนออนไลน์อย่างไร และใช้เทคโนโลยีตัวไหนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งมีอยู่เยอะมากที่จะนามาใช้ใน Blended Learning และเมื่อนาไปใช้สิ่งแรกที่ต้องคานึงนั้นคือ สัดส่วน ของ BlendedLearning คาว่าสัดส่วน Blended Learning เป็นปัญหามาก เพราะว่าการ Blended Learning ถ้าเราจะนาไปใช้ประโยชน์มันขึ้นอยู่กับวิชาว่าจะต้องการให้มีสัดส่ วนของการพบหน้าเท่าไหร่ และสัดส่วนของการออนไลน์เท่าไหร่ การทา Blended Learning ที่ผมใช้อยู่ยกตัวอย่างการสอนในระดับปริญญาโทก็จะใช้Blended Learning ในลักษณะที่เรียกว่า 50 : 50 คือผมเจอหน้านักศึกษา 50 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงถ้าเรามีการเรียนการสอนทั้งหมดหนึ่งเทอมแล้วสัปดาห์หนึ่งมี 4 ชั่วโมง สองชั่วโมงผมจะพบหน้าเด็กก่อน ชี้แจงจุดประสงค์อะไรต่างๆ แล้วอธิบายหรือบรรยายหรือให้กิจกรรมการเรียนแบบ Face to Face อันนี้ก็คือเหมือนกับการสอนปกติ หลังจากนั้นเขาจะไปออนไลน์อีกสองชั่วโมง คือออนไลน์มันจะเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วย ผมใช้ Blended Learning กับนักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัด เหตุผลที่ใช้ Blended Learning เพราะว่าต้องไปสอนศูนย์ที่มหาวิทยาลัยในต่างจังหวั ด เวลาเราไปสอนเสร็จแล้วเรากลับมาตัวเรากับนักศึกษาจะอยู่ห่างกันมาก เพราะฉะนั้น Blended Learning ก็จะหมายความว่าพอเวลาเราสอนเสร็จเวลาในการสอนของเรา 4-6ชั่วโมง เสร็จเรียบร้อยในวิชานั้น เราก็จัดออนไลน์ให้นักศึกษาอีก 4-6 ชั่วโมง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง ได้ทำแบบฝึกหัด ได้ส่งงาน ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากสื่อที่เรากาหนดให้ แบบนี้คือ 50 : 50 คือไปสอน 4 เดือน ทุกสัปดาห์พอสอนเสร็จหลังจากนั้นนักศึกษาต้องออนไลน์กับผมไปตลอดทั้งเทอม สัดส่วนตรงนี้คือ 50:50 นี่คือการนำไปใช้ประโยชน์ของ Blended Learning ช่วยปิดจุดอ่อนตรงที่ว่า ถ้าหากเขาจะมาพบ จะมาซักถามหรือพูดคุย หรือจะส่ งรายงาน เขาทาไม่ได้เลยเพราะเขาอยู่ต่างจังหวัด ถ้าหากเขาจะทาแบบฝึกหั ดส่ งผม ทำการบ้านส่งผมเขาก็จะไปที่ตัวออนไลน์ อยากจะค้นคว้าเพิ่มเติมก็ไปที่ตัวออนไลน์ เขาอยากจะสรุปสไลด์ ฟังบรรยายต่างๆ ของผม เขาก็ไปที่ออนไลน์ อย่างนี้คือ 50: 50 การนาไปใช้ประโยชน์ในแง่ของสัดส่วนแบ่งออกเป็นสองลักษณะแบบแรกเรียกว่า Vertical เป็นแบบแนวตั้ง 50: 50 หมายความว่า Face to Face 50และออนไลน์ 50 คือจัดการสอนตลอดหลักสูตรครึ่งต่อครึ่งไปตลอดเป็นลักษณะคู่ขนาน อีกแบบหนึ่งคือแนวนอน หมายความว่า ถ้าเราจัดการเรียนการสอน 15 สัปดาห์ ก็จะเรียน Face to Face ไปประมาณ 50เปอร์เซนต์ ที่เหลือก็เรียนแบบออนไลน์ อีกแบบหนึ่งที่ต่างประเทศนิยมกันมากคือ 80: 20 คือ Face to Faceครั้งแรกก่อน 10 เปอร์เซนต์ หลังจากนั้นปล่อยให้ ออนไลน์ 80 เปอร์เซนต์ และมาสรุปที่เหลืออีก 10เปอร์เซนต์ สรุปว่าการทา Blended Learning ต้องมีออนไลน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ถ้าเมื่อใดที่ระบบการสอนเป็นบรรยายมากกว่าออนไลน์อย่างนี้จะไม่เรียกว่า Blended Learning จะกลายเป็นสื่อออนไลน์เป็นแค่ตัวช่วย ตัวเสริม ไม่ใช่สื่อหลัก เพราะฉะนั้นการนา Blended Learning ไปใช้ประโยชน์ คือ 1. กาหนดสัดส่วน2. คือการออกแบบการสอน ตอนเราสอนแบบ Face to Face ใช้วิธีการใด และออนไลน์ใช้วิธีการสอนแบบใดโดยใช้การเขียนแผนการสอน ซึ่งเท่ากับต้องมี 2 แผนการสอน และสื่อที่จะใช้คืออะไร ตอนเจอหน้าใช้เทคนิคอะไร บรรยาย PowerPoint แล้วแบบออนไลน์จะใช้อะไร Blog, Social Mediaข้อจากัดและแนวทางในแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning)ข้อจากัดของ Blended Learning จะอยู่ที่การออนไลน์ ถ้าสถานศึกษาระบบออนไลน์ไม่สมบูรณ์แล้วจัดการเรียนการสอนออนไลน์ก็จะทาให้ผู้สอนเกิดการขัดข้อง และเด็กทุกคนก็ใช่ว่าจะมีอุปกรณ์ออนไลน์ที่ครบถ้วน ถ้าจะจัด Blended Learning ตัวของโรงเรียนต้องมีความพร้อมเรื่องเครือข่าย อีกข้อหนึ่งคือตัวของเทคโนโลยีก็คือว่าในการทา Blended Learning ต้องเลือกทาเทคโนโลยีออนไลน์ เพราะฉะนั้นตอนทาเทคโนโลยีออนไลน์หลายๆ โรงเรียนก็อาจทาเป็นอีเลิร์นนิ่ง พอทาเป็น อีเลิร์นนิ่งแล้วความพร้อมของเทคโนโลยีในโรงเรียนต่างๆ ยังไม่พร้อมที่จะให้ครูทุกคนทา Blended Learning และก็กลายเป็นปัญหาที่ว่าถึงแม้ว่า ครูพร้อม นักเรียนพร้อม ระบบเครือค่ายพร้อม แต่หากว่าตัวเทคโนโลยีที่นามาใช้ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจก็ทาให้เป็นปัญหาได้ อีกประการหนึ่งคือ ความพร้อมของครูผ้สอน หากครูไม่เชี่ยวชาญ ก็กลายเป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning และความพร้อมของตัวผู้เรียน เช่น บ้านไม่มีอินเทอร์เน็ตหรือไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือถ้าใช้ในโรงเรียนก็เป็นปัญหาเรื่องห้องเรียนเพียงพอหรือไม่ Blended Learning ก็จะกลายไปเพิ่มภาระให้ แนวทางแก้ไขคือ ต้องทาให้ ครู นักเรียน ระบบเครือข่าย อุปกรณ์ มีความพร้อม เราก็
      จะสามารถจัดการเรียนการสอน Blended Learning ได้อย่างสมบูรณ์ และที่สาคัญคือตัวของ BlendedLearning เป็นออนไลน์ เด็กก็จะเข้าไปเล่นเกมส์ ไม่สนใจตัวสื่อออนไลน์ วิธีการแก้ไข คือ ต้องออกแบบระบบการสอนออไลน์เฉพาะ และสร้างตัวเทคโนโลยีที่ควบคุมการเรียนรู้ของเด็กให้กรอบ อยู่ในแนวทางได้ทิศทาง จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(Blended Learning) ในการศึกษาไทยจะเป็นอย่างไรตราบใดที่ยังมีสื่อออนไลน์ Blended Learning จะเป็นวิธีการสอนที่จะนามาช่วย แนวโน้มก็จะคือเป็นวิธีการที่จะเพิ่มมากขึ้น แพร่หลายโดยทั่วไป ซึ่งเพิ่มขึ้นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องของเทคโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวโน้มที่ทาให้ BlendedLearning เพิ่มมากขึ้น และในอนาคต Blended Learning จะเข้าสู่ในยุคของ เวอร์ชวลเลิร์นนิ่ง คือเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในลักษณะ 3 มิติมากขึ้น หากเรานา Blended Learning มาผสมผสานกับ เวอร์ชวลเลิร์นนิ่ง คือเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้มีมากขึ้น ถ้าถามว่าแนวโน้มจะเป็นลักษณะใด ก็ตอบได้เลยว่า Blended Learning จะมีมากขึ้น ตราบใดทีระบบออนไลน์มีมากขึ้น ระบบสารสนเทศมีมากขึ้นระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหลือตอนนี้ก็คงจะป็นตัวผู้สอนที่จะเข้าสู่ยุคนี้ได้อย่างไร หากครูผู้สอนยังสอนเหมือนเดิม ในขณะที่นักเรียนเข้าสู่โลกของออนไลน์มากขึ้น การเรียนการสอนก็ของครูก็จะไม่น่าสนใจการเรียนการสอนของครูก็จะไม่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน นโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันเรื่องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวก็จะไม่ประสบความสาเร็จ

ที่มา  :  http://krusorndee.net/group/6-1-2555-33101/page/blended-learning