วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Dropbox คืออะไร?

Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถ เรียกใช้ ไฟล์งานต่างๆ ของเราเอง หน่วยงานเพื่อ share file ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งไหน ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook, PC หรือ มือถือ ก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้อย่างง่ายดาย และตรงกันเสมอ ไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลด แก้ไข ไฟล์ใดๆ ใน Folder ของ Dropbox

Dropbox ดีอย่างไร?

Dropbox มีข้อดีต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน หรือการทำงานสะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้
ทำให้ตรงกัน (Synchronize) Dropbox จะทำไฟล์ใน Folder Dropbox ให้ ‘ตรงกันเสมอ’ (Synchronize) โดยมีพื้นที่ฟรีให้มากถึง 2GB และใช้ได้ทั้งบน Windows, Mac, Linux, มือถือ และ Web-based. ไม่ว่าไฟล์ๆ นั้น จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อใด Dropbox จะรู้และ Update ให้กับเครื่องอื่นๆ อัตโนมัติทันที
แบ่งปันไฟล์ (File Sharing)

แชร์โฟลเดอร์ต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ เพื่อให้ ‘ทำงานร่วมกันได้’ (Collaboration) นอกจากนี้ ยังสร้าง Public Link ให้ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย
สำรองข้อมูล (Online Backup)

Dropbox ทำให้คุณหมดห่วงเรื่อง สำรองข้อมูล เพราะ Dropbox ทำให้คุณอย่างอัตโนมัติโดยคุณไม่ต้องกังวลใดๆ เลยเข้าผ่านเว็บไซต์ (Web Access) ไฟล์อีกชุดนึง จะเก็บไว้บน Internet เพื่อให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ทุกสถานที่ ที่ Internet สามารถเชื่อมต่อได้ และมีความปลอดภัยสูง
ต้องมี account gmail เพื่อการใช้งาน สามารถ download software มาติดตั้งที่เครื่องและเริ่มใช้งานได้ทันที

ที่มา : http://dit.csc.ku.ac.th

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

5 สิ่งที่ไม่ใช่ คลาวด์คอมพิวติ้ง

ป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้เคลื่อนผ่านจากยุคพีซีเข้าสู่ยุคคลาวด์คอมพิวติงในหลายทาง โดยคลาวด์คอมพิวติงถือว่าเป็นตัวแทนของการส่งผ่านข้อมูลและบริการทางไอทีแบบใหม่ของผู้ใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญว่าแอพพลิเคชันและระบบและการบริการต่างๆ ถูกพลิกโฉมไปจากอดีตอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ การก้าวผ่านสู่เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงถือเป็นการแทนที่ทางเทคโนโลยีสารสนเทศนับตั้งแต่การเปลี่ยนจากเมนเฟรมเป็น Client-Server หรือจะเป็น AI Gore invented the internet เป็นต้น ในขณะที่องค์กรไอทีที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน เช่น ‘Oracle’s commander in chief declared it fad’ ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีมายาวนานและยังคงอยู่ในปัจจุบันส่วนอีกด้านหนึ่งคือยุคใหม่ของไอทีแห่งอนาคต
การเคลื่อนผ่านของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงนั้นเริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีการเข้าใจผิดเป็นอย่างมากเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงในตลาดไอที รวมถึงเป็นเรื่องยากที่องค์กรจะแยกแยะว่าอะไรที่เป็นเรื่องจริงและอะไรที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นพัฒนากลยุทธ์ของคลาวด์คอมพิวติง รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของคลาว์คอมพิวติงที่มีการออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อตอบสนองภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ การรู้ว่าคลาวด์คอมพิวติงคืออะไร พูดง่าย ๆ คือแยกแยะว่าอะไรที่ใช่และไม่ใช่ รวมถึงทำให้บรรดาไอทีทั้งหลายเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโยลีคลาวด์คอมพิวติงมากขึ้น
ผมจะไม่ให้คุณเพิ่มนิยามหรือความหมายใดใดของคลาวด์คอมพิวติง แต่ลองหันมาทำความเข้าใจกับ 5 อย่างที่ไม่ใช่คลาวด์คอมพิวติงแทน และ 5 อย่างที่ผมว่า คือ
1. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่สถานที่ หลายคนมักพูดว่าการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังคลาวด์คอมพิวติงก็เหมือนการย้ายไปยังอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งคลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่สถานที่หากแต่เป็นที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใน Data Center ของคุณหรือใครก็ได้ เป็นต้น ซึ่งองค์กรที่เชื่อว่าการก้าวไปสู่กลยุทธ์ที่ทิ้งมรดกทางแอพพลิเคชันและระบบต่าง ๆ จะตกอยู่ในภาวะตื่นจากภวังค์ ซึ่งสิ่งสำคัญประการเดียวสำหรับสถานประกอบการหรือบริษัทในการเตรียมตัวขององค์กรสำหรับคลาวด์คอมพิวติงคือการทำความเข้าใจว่าคลาวด์คอมพิวติงคือ การส่งข้อมูลแบบใหม่,การเสพข้อมูลและการนำบริการ IT มาใช้ให้เกิดความว่องไว, มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าซึ่งล่องลอยอยู่ในอากาศทั้ง Public Cloud, Private Cloud หรือ Hybrid Cloud หากมองคลาวด์คอมพิวติงแบบองค์รวมแล้ว องค์กรหรือบริษัทสามารถใช้ประโยชน์เพื่อประหยัดด้านงบประมาณ, ด้านความเป็นส่วนตัวขององค์กร, ด้านภูมิศาสตร์และความต้องการโดยรวมในเชิงธุรกิจได้เป็นอย่างดี
2. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์แบบเสมือน ถึงแม้หลายคนจะเชื่อและแม้ว่ามีใครหลายคนบอกท่านว่าคลาวด์คอมพิวติงคืออะไรก็ตาม แต่คลาวด์คอมพิวติงก็ไม่เหมือนกับ Next-Gen Server Virtualization แน่นอน ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจไปเลยเพราะจากการการที่หลาย ๆ คนเชื่อว่าการทำให้ Data Center เสมือนจริงจะเป็นการสร้าง Private Cloud ซึ่งมีผู้จำหน่ายบางรายพยายามที่จะไม่ให้ความกระจ่างชัดต่อเรื่องนี้หนำซ้ำยังพยายามโน้มน้าวลูกค้าว่า vCenter ของตนเองนั้นสามารถรับส่งข้อมูลแบบ Private Cloud ได้ ในทางตรงกันข้าม การกล่าวข้างต้นคือการกล่าวเกินจริงอย่างโหดร้ายต่อนิยามของคำว่าคลาวด์คอมพิวติงเป็นที่สุด
หากท่านศึกษากรณีของ Amazon ที่ได้สร้างสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงเป็นของตนเอง จะเห็นได้ชัดเลยว่ายังมีข้อแตกต่างบางประการระหว่าง Server Virtualization และสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงของจริง เพราะขณะที่ Amazon ใช้ Xen Virtualization Technology สมองของสถาปัตยกรรมนี้ก็มาพร้อมกับ Layer ใหม่ของซอฟท์แวร์ ซึ่ง Amazon พยายามสร้างขึ้นมาเพื่อสร้าง Control Plane ใหม่และ Cloud Orchestration Layer ใหม่ที่สามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดของ Infrastructure ผ่านทาง Data Center ได้ ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Networking เป็นต้น ที่ถือเป็นหัวใจหลักของการแทนที่เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงจนนักวิเคราะห์บางคนกล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น “Hypervisor of Hypervisor” หรือ “ New Software Category of Cloud System Software ”
ในความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญบางคนได้ใช้งานคลาวด์คอมพิวติงโดยปราศจาก Server Virtualization ดังเช่นกรณีของ Google ที่สามารถใช้งานสถาปัตยกรรมคลาวด์คอมพิวติงโดยไม่ใช้ Server Virtualization แต่ใช้ Bare Metal แทน ดังนั้นแม้ Virtualization จะเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติงแต่ก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการเสมอไป
3. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เกาะ ไม่ว่าคุณกำลังอ่านอะไรก็ตาม คุณก็จะได้ยินคำว่า Public Cloud และ Private Cloud อย่างหนาหูเลยทีเดียวและอาจจะรู้สึกว่าบริษัทจะต้องตัดสินใจต่อทิศทางการค้าส่งทั้งหมดก็เป็นได้ แต่เดี๋ยวก่อน! คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่เกาะที่คุณจะทิ้งบริการไอทีทุกสรรพสิ่งลงไปแล้วปล่อยให้สูญเสียการเชื่อมต่อและการเข้าถึงเสียเมื่อไหร่ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ Amazon outage ได้พิสูจน์แล้วว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรในการที่จะกระตุ้นคลาวด์คอมพิวติงให้ถึงขีดสุด ซึ่งกลยุทธ์คลาวด์คอมพิวติงที่ถูกต้องจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน (Hybrid Approach) พร้อมกับความสามารถในการเชื่อมต่อไปยัง Private และ Public Clouds ได้อย่างง่ายอีกด้วย แม้แต่การเคลื่อนไหวของ NASA to include Amazon Web Services ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลาวด์คอมพิวติงของ NASA ได้เปิดตัวภายหลังการลงทุนครั้งใหญ่ด้านการเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีในองค์กร เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่าตลาดสำหรับคลาวด์คอมพิวติงกำลังเปิดและสามารถใช้งานในแบบ Multi-Cloud Environment ได้อีกด้วย
4. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่การสั่งการแบบ Top-Down คลาวด์คอมพิวติงมาแทนที่การรับส่งข้อมูลทาง IT แบบเดิม โดยมีเส้นทางธุรกิจเป็นตัวแปรนำในการตัดสินใจสู่การเดินหน้าไปยังยุคคลาวด์คอมพิวติงและด้วยความต้องการเจาะจงเข้าสู่ตลาดโดยเร็วนี่เองทำให้ผู้นำทางธุรกิจต่าง ๆ ได้ใช้บริการคลาวด์คอมพิวติงเพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการรับส่งข้อมูลทางไอทีแบบเดิม แต่ก็นั่นแหล่ะ มันก็ไม่ใช่สาระที่เราจะต้องไปสำรวจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแค่เรื่องการรูดบัตรเครดิตและการสร้างบัญชีของผู้ใช้ให้สามารถเข้าไปในระบบไอทีได้ทันทีแบบไร้ขีดจำกัดเพื่อทดสอบแนวคิดใหม่นี้ หรือจะเป็นการทำงานที่มีความว่องไวมากขึ้นต่างหากเป็นส่วนสำคัญที่บอกว่าคลาวด์คอมพิวติงทรงพลังมากเพียงใด คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมในบทความที่ผมเขียนเรื่อง Consumerization of IT ที่กำลังสนับสนุนเรื่องนี้อยู่ ตอนนี้ผู้ใช้ก็พร้อมแล้วเหลือเพียง C-level offices ที่พยายามปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ ซึ่งคนที่จับกระแสของคลาวด์คอมพิวติงมาแต่ต้นจะเป็นผู้ที่ใช้งานคลาวด์คอมพิวติงเฉกเช่นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพก่อนคู่แข่งรายอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เห็นทีคลาวด์คอมพิวติงคงไม่ใช่ปรากฏการณ์แบบ Top-down หากแต่เป็น Bottoms-up เสียมากกว่า
5. คลาวด์คอมพิวติงไม่ใช่กระแสโปรโมต จากที่ผมเขียนบทความนี้ ผมได้กล่าวถึงข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงที่ไหลบ่าสู่ตลาดไอทีทำให้เกิดการชะลอตัวเรื่องการนำคลาวด์คอมพิวติงมาใช้ในบางองค์กร โดยผมมีโอกาสพูดคุยกับคนในหลายองค์กรซึ่งบางคนก็ยังไม่เชื่อเรื่องคลาวด์คอมพิวติงและยังคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่างหาก แต่ก็ไม่ต้องสงสัยเลยที่เริ่มมีการพูดถึงชัยชนะของคลาวด์คอมพิวติงโดยหลัก ๆ แล้วมาจากจิตใจและความคิดของนักพัฒนาระบบไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยแหล่งที่มาของคลาวด์คอมพิวติงให้บุคคลภายนอกได้ใช้หรือ Beta product ซึ่งในความเป็นจริงคลาวด์คอมพิวติงนั้นพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก Citrix ที่มีมากกว่า 100 องค์กรที่ขับเคลื่อนคลาวด์คอมพิวติงในตอนนี้หรือองค์กรอย่างเช่น AutoDesk, Edmunds.com, Nokia, Chatham Financial และอื่นๆ อีกมากมายต่างก็ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันทรงพลังนี้
สิ่งที่ผมอยากแนะนำเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงให้กับองค์กรต่าง ๆ ก็คือการเรียนรู้จากองค์กรอื่นที่ได้ใช้คลาวด์คอมพิวติงให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการช่วยรับส่งข้อมูลและบริการทางไอทีในองค์กรของตนเองเป็นตัวอย่างนั่นเอง
อย่าเพิ่งเบื่อไปก่อนล่ะ เพราะนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นประเด็นคลาวด์คอมพิวติงเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเด็นที่เราจะต้องถกกันต่อไปในสัปดาห์ เดือนหรือปีที่ใกล้จะมาถึง (เช่นประเด็นที่ว่าคลาวด์คอมพิวติงไม่ได้เป็น Infrastructure หรือ Service Provider เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เป็นต้น) แต่ทั้งหมดของบทความที่ผมเขียนมา ก็ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้องค์กรและตลาดไอทีมีความเข้าใจว่าอะไรที่ใช่และอะไรที่ไม่ใช่คลาวด์คอมพิวติงครับ

ที่มา : http://www.value.co.th/th/service/articles/5things.htm