วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Cloud Computing ในประเทศไทย

ใครๆก็สามารถตั้งตนเป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ได้ ขอเพียงแต่สามารถลงทุนเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และมีซอฟต์แวร์และระบบบริหารจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถจัดหาวงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อไปโครงข่าย Cloud Computing เข้าด้วยกัน ในกรณีที่มีการแยกอาคารสถานที่ติดตั้ง
การพัฒนาขีดความสามารถของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และหากจะให้ดีก็น่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ใยแก้วนำแสง ซึ่งปัจจุบันรองรับด้วยเทคโนโลยี FTTH (Fiber To The Home) จะช่วยทำให้องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการ Cloud Computing ด้วยวงจรสื่อสารความเร็วสูง และจะได้ลดข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อลงได้ อาจกกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า นอกเหนือจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่นิยมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อรับสื่อมัลติมีเดียแล้ว กระแสความนิยมในบริการ Cloud Computing ของภาคธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้มีการขยายเพิ่มขีดความสามารถของโครงข่ายบรอดแบนด์ในประเทศไทย

           ปัจจุบันมีบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งในประเทศไทย ลงทุนสร้างเครือข่าย Cloud Computing รับประมวลผลให้กับลูกค้าองค์กรที่เป็นบริษัทขนาดย่อมๆ กันแล้ว เมื่อใดก็ตามที่กระแสความนิยมในเทคโนโลยี Cloud Computing ในบ้านเราเปิดกว้างมากขึ้น ประกอบกับการขยายขีดความสามารถของเครือข่ายบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่อง เราจะได้เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจใหม่นี้อย่างแน่นอน เชื่อได้เลยว่าอนาคตที่ว่านั้นอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น